ราชวงศ์มาซิโดเนียน (ค.ศ. 820 - 867) ของ รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์

พระนามรัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิบาซิลที่ 1 "เดอะมาซิโดเนียน"
Basil I "the Macedonian"
(ภาษากรีก:Βασίλειος Α΄ ὁ Μακεδὸν, ภาษาละติน: Basilius I Macedonius)
ค.ศ. 867 –
2 สิงหาคม ค.ศ. 886
(19 ปี 245 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 811 ที่เขตธีมแห่งมาซิโดเนีย ได้มีชื่อเสียงจากการเป็นข้าราชการในราชสำนัก และได้กลายเป็นคนโปรดของจักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 พระองค์ได้ลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 และช่วงชิงราชบัลลังก์มาเป็นของพระองค์ ทรงสถาปนาราชวงศ์มาซิโดเนียน พระองค์ประสบความสำเร็จในการรบสมรภูมิตะวันออกกับชาวอาหรับและพวกพอลลิเชียน และทรงสามารถปกครองภาคใต้ของอิตาลีได้อีกครั้ง
จักรพรรดิเลโอที่ 6 "ผู้ชาญฉลาด"
Leo VI "the Wise"
(ภาษากรีก:Λέων ΣΤ΄ ὁ Σοφὸς, ภาษาละติน: Leo VI Sapiens)
ค.ศ. 886 –
11 พฤษภาคม ค.ศ. 912
(26 ปี 163 วัน)
ประสูติวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 866 มีความสับสนว่าพระองค์ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิบาซิลที่ 1 หรือจักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 จักรพรรดิเลโอทรงเป็นที่รู้จักในฐานะที่ทรงเป็นผู้คงแก่เรียน แต่กระนั้นพระองค์ทรงพ่ายแพ้ในสงครามหลายครั้ง รัชสมัยของพระองค์ อยู่ในช่วงจุดรุ่งเรืองมุสลิมซาราเซ็นซึ่งได้ยกกองทัพเรือเข้าปล้น ซึ่งที่สำคัญที่สุดคือการปล้นเทสซาโลนีกา และทรงประสบความล้มเหลวในการทำสงครามกับบัลแกเรียในรัชสมัยของจักรพรรดิซีโมนที่ 1 แห่งบัลแกเรีย
จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์
Alexander
(ภาษากรีก:Ἀλέξανδρος, ภาษาละติน: Alexander)
11 พฤษภาคม ค.ศ. 912 –
6 มิถุนายน ค.ศ. 913
(1 ปี 26 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 870 ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิบาซิลที่ 1 และทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระราชบิดาในปีค.ศ. 879 ทรงดำรงเป็นจักรพรรดิร่วมมาเป็นระยะเวลานาน โดยทรงถูกกีดกันจากอำนาจโดยจักรพรรดิเลโอที่ 3 พระเชษฐา เมื่อพระเชษฐาสวรรคต พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิไบแซนไทน์พระองค์แรกที่ใช้คำว่า “autocrator” (αὑτοκράτωρ πιστὸς εὑσεβὴς βασιλεὺς) บนเหรียญเพื่อเป็นการฉลองการเป็นอิสระจากการเป็นพระจักรพรรดิร่วมมาถึง 33 ปี[13] พระองค์ก็ทรงปลดที่ปรึกษาและผู้ที่ได้รับแต่งตั้งของจักรพรรดิเลโอจนแทบหมดสิ้นรวมทั้งผู้บังคับบัญชากองทัพเรือและพระสังฆราช ทรงบังคับสมเด็จพระพันปีหลวงโซอี คาร์โบนอปซินา พระมเหสีในจักรพรรดิเลโอที่ 3 พระเชษฐาของพระองค์ ให้ไปประทับในสำนักชี[14] พระองค์ทรงเริ่มต้นสงครามกับบัลแกเรียในสงครามไบแซนไทน์-บัลแกเรีย ค.ศ. 913 - 927 จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคตหลังจากการเล่นโปโลจากความเหน็ดเหนื่อยหลังจากทรงอยู่ในราชบัลลังก์เพียง 1 ปี
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 "ผู้ประสูติในรัชกาล"
Constantine VII "the Purple-born"
(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Ζ΄ ὁ Πορφυρογέννητος, ภาษาละติน: Constantinus VII Porphyrogenitus)
6 มิถุนายน ค.ศ. 913 –
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 959
(46 ปี 156 วัน)
ทรงเป็นพระโอรสในจักรพรรดิเลโอที่ 6 ประสูติวันที่ 17/18 พฤษภาคม ค.ศ. 905 และทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 908 ช่วงต้นรัชกาลทรงถูกครอบงำโดยผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ครั้งแรกทรงอยู่ภายใต้การสำเร็จราชการของสมเด็จพระพันปีหลวงโซอี คาร์โบนอปซินา พระราชมารดา และอัครบิดรนิโคลัส มิสติคอส และในปีค.ศ. 919 ทรงอยู่ภายใต้จอมพลเรือ โรมานอส เลกาเปนอส ผู้ซึ่งให้จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 อภิเษกสมรสกับบุตรสาว คือ เฮเลนา เลกาเปเน และโรมานอสได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิอาวุโสในปีค.ศ. 920 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงถูกกีดกันจากการเมืองในช่วงการปกครองของเลกาเปนอส แต่ด้วยความช่วยเหลือของพระมเหสี จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงสามารถยึดพระราชอำนาจคืนมาได้โดยทรงปลดพระโอรสของจักรพรรดิโรมานอสออกจากราชบัลลังก์ในต้นปีค.ศ. 945 รัชสมัยนี้ทรงขัดแย้งและทำสงครามกับซัฟ อัล-ตอละห์ เอมีร์แห่งอเลปโปทางตะวันออกและทรงล้มเหลวในการพิชิตเกาะครีต และนโยบายสนับสนุนชนชั้นสูงของพระองค์ได้เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับการปกครองของเลกาเปนอสซึ่งต่อต้านไดนาโตย (ระบบที่ผูกขาดอำนาจโดยชนชั้นสูง) พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในการสนับสนุนมาซิโดเนียนเรอแนซ็องส์ โดยทรงส่งเสริมงานสารานุกรมและประวัติศาสตร์ ทรงมีชื่อเสียงในการทรงพระราชนิพนธ์หนังสือสองเล่ม “De Administrando Imperio” และ “De Ceremoniis” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปการปกครองประเทศและพิธีการ ตามลำดับ ซึ่งพระองค์ทรงรวบรวมเป็นประมวลงานนิพนธ์เพื่อมอบให้แก่พระโอรส คือ จักรพรรดิโรมานอสที่ 2[15] พระองค์สวรรคตในปีค.ศ. 959 ซึ่งมีข่าวลือว่า จักรพรรดิโรมานอสที่ 2 พระโอรส หรือ จักรพรรดินีธีโอฟาโน พระสุณิสา ทำการวางยาพิษลอบปลงพระชนม์
จักรพรรดิโรมานอสที่ 1 เลกาเปนอส
Romanos I Lekapenos
(ภาษากรีก:Ρωμανὸς Α΄ Λεκαπηνὸς, ภาษาละติน: Romanus I Lacapenus)
17 ธันวาคม ค.ศ. 920 –
16 ธันวาคม ค.ศ. 944
(23 ปี 365 วัน)
เป็นจอมพลเรือที่มีชาติกำเนิดต่ำต้อย โรมานอสทรงก้าวขึ้นสู่อำนาจในฐานะผู้ปกครองของยุวจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 ในการต่อต้านแผนการยึดราชบัลลังก์ของนายพลเลโอ โฟลคาส ผู้อาวุโส หลังจากที่ทรงเป็นพระสัสสุระในจักรพรรดิ พระองค์ก็มียศถาบรรดาศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งทรงประกอบพิธีราชาภิเษกพระองค์เองขึ้นเป็นจักรพรรดิอาวุโส โดยครองราชบัลลังก์ร่วมกับจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 รัชสมัยของพระองค์นับว่าเป็นจุดจบในการทำสงครามกับบัลแกเรียและได้รับชัยชนะครั้งใหญ่ในการพิชิตตะวันออกภายใต้กองทัพของจอห์น คอร์คูอัส จักรพรรดิโรมานอสทรงแต่งตั้งพระโอรส คือ คริสโตเฟอร์, สตีเฟน และคอนสแตนติน ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมเหนือจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 แต่จักรพรรดิโรมานอสก็ทรงถูกล้มราชบัลลังก์โดยพระโอรสสองพระองค์หลังและถูกส่งไปคุมขังที่เกาะในฐานะบาทหลวงในอาราม พระองค์สวรรคตที่นั่นในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 948
จักรพรรดิโรมานอสที่ 2 "ผู้ประสูติในรัชกาล"
Romanos II "the Purple-born"
(ภาษากรีก:Ρωμανὸς Β΄ ὁ Πορφυρογέννητος, ภาษาละติน: Romanus II)
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 959 –
15 มีนาคม ค.ศ. 963
(3 ปี 126 วัน)
ทรงเป็นพระโอรสเพียงองค์เดียวที่ยังทรงพระชนม์ของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 พระองค์ประสูติในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 938 และทรงสิบราชบัลลังก์หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ซึ่งมีข่าวลือว่าพระองค์ หรือ จักรพรรดินีธีโอฟาโน พระมเหสีทรงลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 ด้วยยาพิษ จักรพรรดิโรมานอสทรงครองราชย์จนกระทั่งสวรรคต แม้ว่ารัฐบาลของพระองค์ส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้อำนาจของขันที โจเซฟ บรินกาส รัชสมัยของพระองค์ประสบความสำเร็จในการทำสงครามกับศัตรูทางตะวันออกคือ ซัฟ อัล-ตอละห์ และประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูเกาะครีตภายใต้กองทัพของนิเคโฟรอส โฟลคาส จักรพรรดิโรมานอสสวรรคตอย่างกะทันหันในปีค.ศ. 963 ขณะทรงมีพระชนมายุ 25 พรรษา มีข่าวลือว่าทรงถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษโดยจักรพรรดิดนีธีโอฟาโน พระมเหสี
จักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 2 โฟลคาส
Nikephoros II Phokas
(ภาษากรีก:Νικηφόρος Β΄ Φωκᾶς, ภาษาละติน: Nicephorus II Phocas)
16 สิงหาคม ค.ศ. 963 –
11 ธันวาคม ค.ศ. 969
(6 ปี 117 วัน)
เป็นนายพลที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในรุ่นของพระองค์ ประสูติราวปีค.ศ. 912 ในตระกูลโฟลคาส ที่ทรงอำนาจ หลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 พระองค์ทรงขึ้นครองบัลลังก์ภายใต้การสนับสนุนจากกองทัพและประชาชนในฐานะผู้สำเร็จราชการของจักรพรรดิบาซิลที่ 2 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 ซึ่งทรงพระเยาว์ พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระพันปีหลวงธีโอฟาโน พระมเหสีในจักรพรรดิรัชกาลก่อน ตลอดรัชกาลของพระองค์ ทรงทำสงครามกับตะวันออก โดยทรงสามารถยึดครองซีเรียส่วนใหญ่ พระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระนัดดา คือ จอห์น ทซิมิสเคส โดยทรงวางแผนกับจักรพรรดินีธีโอฟาโน ซึ่งทรงได้กลายเป็นคู่รักกับจอห์น ทซิมิสเคส ผู้หนุ่มกว่าและมีเสน่ห์
จักรพรรดิจอห์นที่ 1 ทซิมิสเคส
John I Tzimiskes
(ภาษากรีก:Ἰωάννης Α΄ Κουρκούας ὁ Τσιμισκὴς, ภาษาละติน: Ioannes I Tzimisces)
11 ธันวาคม ค.ศ. 969 –
10 มกราคม ค.ศ. 976
(6 ปี 30 วัน)
เป็นพระนัดดาในจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 2 ทซิมิสเคสประสูติราวค.ศ. 925 เป็นแม่ทัพผู้มีความสามารถ ทรงพยายามห่างจากจักรพรรดิผู้เป็นพระมาตุลา และนำไปสู่การวางแผนสมรู้ร่สวมคิดปลงพระชนม์จักรพรรดิร่วมกับเหล่านายพลที่ไม่พอใจจักรพรรดิ และทรงได้รับความช่วยเหลือในแผนการจากจักรพรรดินีธีโอฟาโน จอห์น ทซิมิสเคสจึงได้เป็นจักรพรรดิและเป็นผู้สำเร็จราชการในพระโอรสผู้ทรงพระเยาว์ของจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 จักรพรรดิจอห์นที่ 1 ทรงพยายามอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินีธีโอฟาโน ผู้ทรงเป็นจักรพรรดินีมาสองรัชกาล แต่อัครบิดรทรงประกาศว่าจะไม่ประกอบพิธีราชาภิเษกให้พระองค์ถ้าไม่ทรงลงโทษผู้ก่อการลอบปลงพระชนม์ และถอดถอน "จักรพรรดินีผู้ชั่วร้าย" ออกจากราชสำนัก จักรพรรดิจอห์นทรงพยายามประนีประนอมกับฝ่ายศาสนาจึงเนรเทศจักรพรรดินีธีโอฟาโนออกไป ในฐานะประมุข จักรพรรดิจอห์นทรงทำสงครามกับชาวรัสในบัลแกเรียในสงครามการรุกรานบัลแกเรียของสเวียโตสลาฟและเป็นจุดล่มสลายของจักรวรรดิบัลแกเรีย โดยไบแซนไทน์ได้รับชัยชนะ จากนั้นทรงยกทัพไปทำสงครามด้านตะวันออก ซึ่งพระองค์สวรรคตอย่างกะทันหัน
จักรพรรดิบาซิลที่ 2 "ผู้ปราบบุลการ์"
Basil II "the Bulgar-Slayer"
(ภาษากรีก:Βασίλειος Β΄ ὁ Βουλγαροκτόνος, ภาษาละติน: Basilius II Bulgaroctonus)
10 มกราคม ค.ศ. 976 –
15 ธันวาคม ค.ศ. 1025
(49 ปี 339 วัน)
เป็นพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 ประสูติในปีค.ศ. 958 ทศวรรษแรกของรัชกาล ทรงเป็นขัดแย้งกับบาซิล เลกาเปนอส มหาเสนาบดีผู้ทรงอำนาจ ทรงประสบความล้มเหลวในการทำสงครามกับบัลแกเรีย และเกิดกบฏในเอเชียไมเนอร์ซึ่งนำโดยกลุ่มนายพล จักรพรรดิบาซิลทรวพยายามสร้างความมั่นคงของราชบัลลังก์โดยทรงเป็นพันธมิตรกับวลาดิมีร์แห่งเคียฟ ทรงให้เจ้าหญิงแอนนา พอร์ฟีโรเกนิตา พระขนิษฐาเสกสมรสกับเจ้าชายวลาดิมีร์ และจากนั้นทรงปราบปรามกบฏ พระองค์ทรงเริ่มพิชิตบัลแกเรีย บัลแกเรียถูกปราบอย่างราบคาบในปีค.ศ. 1018 หลังจากภาวะสงครามถึง 20 ปี โดยมีเพียงเหตุการณ์ที่ทำให้การบุกบัลแกเรียต้องหยุดชะงักเพียงชั่วขณะ คือ การทำสงครามประปรายในซีเรียต่อต้านราชวงศ์ฟาติมียะห์ จักรพรรดิบาซิลยังทรงขยายอาณาเขตไปถึงอาร์เมเนียส่วนใหญ่ รัชกาลของพระองค์ถูกพิจารณาว่าเป็นจุดรุ่งเรืองถึงขีดสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในยุคกลาง
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 "ผู้ประสูติในรัชกาล"
Constantine VIII "the Purple-born"
(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Η΄ ὁ Πορφυρογέννητος, ภาษาละติน: Constantinus VIII)
15 ธันวาคม ค.ศ. 1025 –
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1028
(2 ปี 332 วัน)
เป็นพระโอรสองค์ที่สองในจักรพรรดิโรมานอสที่ 2 ประสูติในปีค.ศ. 960 และทรงได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิร่วมในเดือนมีนาคม ค.ศ. 962 ในระหว่างรัชกาลของจักรพรรดิบาซิลที่ 2 พระองค์ทรงใช้เวลาเพื่อความเกษมสำราญ ในช่วงรัชกาลอันสั้นของพระองค์ ทรงเป็นประมุขผู้ไม่สนพระทัยกิจการบ้านเมือง ทำให้ทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของข้าราชสำนักโดยง่าย และทรงสงสัยว่าจะมีแผนการปลดพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ โดยเฉพาะกลุ่มขุนนางฝ่ายทหาร ทำให้กลุ่มขุนนางจำนวนมากถูกจับทำให้ตาบอดและถูกเนรเทศ ในขณะที่ทรงใกล้สวรรคต พระองค์ทรงเลือกโรมานอส อาร์กีรอสให้เป็นพระสวามีในเจ้าหญิงโซอี พระราชธิดา[16]ซึ่งจะทรงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อไป
จักรพรรดินีโซอี "ผู้ประสูติในรัชกาล"
Zoe "the Purple-born"
(ภาษากรีก:Ζωὴ Πορφυρογέννητη, ภาษาละติน: Zoë)
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1028 –
มิถุนายน ค.ศ. 1050
(21 ปี 200 วัน)
เป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 พระนางทรงสืบราชบัลลังก์หลังจากพระบิดาสวรรคต พระนางทรงเป็นเชื้อพระวงศ์มาซิโดเนียนที่ยังทรงพระชนม์อยู่กับเจ้าหญิงธีโอโดรา พระขนิษฐา ทรงมีพระสวามีทั้งหมดสามพระองค์ ได้แก่ จักรพรรดิโรมานอสที่ 3 (1028 - 1034), จักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 (1034 - 1041) และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 (1042 - 1050) ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้เป็นจักรพรรดิเคียงข้างราชบัลลังก์ของพระนาง จักรพรรดินีโซอีทรงพยายามรักษาพระราชอำนาจของพระนาง ด้วยการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ซึ่งพระนางทรงพยายามจำกัดบทบาทของพระนางธีโอโดรา พระขนิษฐา อยู่เสมอจนกระทั่งทรงสวรรคต
จักรพรรดิโรมานอสที่ 3 อาร์กีรอส
Romanos III Argyros
(ภาษากรีก:Ρωμανὸς Γ΄ Ἀργυρὸς, ภาษาละติน: Romanus III Argyrus)
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1028 –
11 เมษายน ค.ศ. 1034
(5 ปี 147 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 968 เป็นข้าราชการอาวุโสซึ่งได้ถูกเลือกโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 ซึ่งทรงใกล้สวรรคต ให้เสกสมรสกับเจ้าหญิงโซอี พระธิดาของพระองค์ จักรพรรดิโรมานอสได้ครองราชย์ร่วมกับจักรพรรดินีโซอีหลังจากจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 สวรรคต เพียงไม่กี่วัน จักรพรรดิโรมานอสสวรรคตในปีค.ศ. 1034 มีข่าวลือว่าทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยแผนการของจักรพรรดินีโซอีและมิคาเอล พาฟลาโกเนียน คู่รักของพระนาง ด้วยการวางยาพิษ รัดพระศอ และจับพระองค์กดน้ำในห้องสรง
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 "เดอะพาฟลาโกเนียน"
Michael IV "the Paphlagonian"
(ภาษากรีก:Μιχαὴλ Δ΄ ὁ Παφλαγὼν, ภาษาละติน: Michael IV Paphlagon)
11 เมษายน ค.ศ. 1034 –
10 ธันวาคม ค.ศ. 1041
(7 ปี 243 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 1010 เดิมทรงมีพื้นเพมาจากชาวนาในพาฟลาโกเนีย ทรงกลายมาเป็นคู่รักของจักรพรรดินีโซอีในขณะที่จักรพรรดิโรมานอสที่ 3 ยังทรงพระชนม์อยู่ และได้ขึ้นครองราชย์หลังจากจักรพรรดิโรมานอสสวรรคตและเป็นพระสวามีในจักรพรรดินีโซอี จักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 ทรงมีพระสิริโฉม เฉลียวฉลาดและพระทัยกว้าง ในทางกลับกันทรงไม่ได้รับการศึกษาและทรงทรมานจากโรคลมชัก[17] เนื่องจากทรงได้รับการสนับสนุนจากพระเชษฐา คือ จอห์น เดอะออร์ฟาโนโทรฟอส ซึ่งเป็นหัวหน้าขันที ทำให้รัชกาลของพระองค์ประสบความสำเร็จพอสมควรในการปราบปรามกบฏภายใน แต่ความพยายามในการยึดซิซิลีประสบความล้มเหลว พระองค์สวรรคตหลังจากทรงประชวรมาเป็นเวลานาน
จักรพรรดิมิคาเอลที่ 5 คาลาฟาเตส
Michael V Kalaphates
(ภาษากรีก:Μιχαὴλ Ε΄ ὁ Καλαφάτης, ภาษาละติน: Michael V Calaphates)
10 ธันวาคม ค.ศ. 1041 –
20 เมษายน ค.ศ. 1042
(0 ปี 131 วัน)
ประสูติในปีค.ศ. 1015 ทรงเป็นพระนัดดาและเป็นพระโอรสเลี้ยงในจักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 ในรัชกาลของพระองค์ทรงพยายามกีดกันอำนาจของจักรพรรดินีโซอี พระมารดาเลี้ยง ทรงมีพระราชโองการเนรเทศจักรพรรดินีโซอีออกจากราชบัลลังก์เพื่อจะได้ทรงเป็นจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียว พระราชโองการของพระองค์ทำให้เกิดการจลาจล กลุ่มผู้ก่อการจลาจลได้ล้มพระราชวังเพื่อเรียกร้องให้ฟื้นฟูจักรพรรดินีโซอีกลับคืนสู่บัลลังก์ พระองค์ต้องทรงยอมให้จักรพรรดินีโซอีคืนสู่บัลลังก์ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1042 โดยทรงครองราชย์ร่วมกับเจ้าหญิงธีโอโดรา พระขนิษฐา จักรพรรดิมิคาเอลที่ 5 ทรงถูกปลดจากราชบัลลังก์ในวันถัดมาโดยพระราชโองการของจักรพรรดินีธีโอโดรา พระองค์ทรงถูกตอนพระคุยหฐาน (อวัยวะเพศ) ทำให้พระเนตรบอดและถูกโกนพระเกศา พระองค์สวรรคตในฐานะพระในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1042
จักรพรรดินีธีโอโดรา
Theodora
(ภาษากรีก:Θεοδώρα, ภาษาละติน: Theodora)
19 เมษายน ค.ศ. 1042 –
หลัง 31 สิงหาคม ค.ศ. 1056
(14 ปี 134 วัน)
ทรงเป็นพระขนิษฐาในจักรพรรดินีโซอี ประสูติในปีค.ศ. 984 ทรงเป็นจักรพรรดินีร่วมในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1056 หลังจากจักรพรรดินีโซอีทรงอภิเษกสมรสกับพระสวามีองค์ที่สาม คือ จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1042 จักรพรรดินีธีโอโดราทรงถูกพระเชษฐภคินีกีดกันจากพระราชอำนาจอีกครั้ง หลังจากจักรพรรดินีโซอีสวรรคตในปีค.ศ. 1050 และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 สวรรคตในปีค.ศ. 1055 จักรพรรดินีธีโอโดราจึงทรงได้รับพระราชอำนาจในการปกครองจักรวรรดิอย่างเต็มที่ และทรงครองราชย์จนกระทั่งสวรรคต พระนางทรงแต่งตั้งให้มิคาเอล บรินกาสเป็นผู้สืบราชบัลลังก์องค์ต่อไป หลังสวรรคตของจักรพรรดินีธีโอโดรา จักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มเข้าถึงจุดเสื่อมและเริ่มฟื้นฟูอีกครั้งในรัชสมัยจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 โมโนมาคอส
Constantine IX Monomachos
(ภาษากรีก:Κωνσταντίνος Θ΄ Μονομάχος, ภาษาละติน: Constantinus IX Monomachus)
11 มิถุนายน ค.ศ. 1042 –
7/8 หรือ 11 มกราคม ค.ศ. 1055
(12 ปี 214 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 1000 ในตระกูลขุนนาง พระชนม์ชีพของพระองค์ไม่เด่นชัด แต่ทรงถูกเนรเทศไปยังเลสบอสโดยจักรพรรดิมิคาเอลที่ 4 ทรงกลับมาเมื่อจักรพรรดินีโซอีทรงเลือกพระองค์เป็นพระสวามี จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 9 ทรงสนับสนุนชนชั้นพ่อค้าและทรงสนับสนุนกลุ่มปัญญาชน ในขณะที่ทรงตีห่างจากขุนนางฝ่ายทหาร พระองค์ทรงเป็นประมุขที่โปรดเรื่องกามารมณ์ ทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างฟุ่มเฟือยกับพระสนมของพระองค์ และทรงถวายทานแก่อารามจำนวนมาก หลักๆคือ เนียโมนีแห่งคิออสและอารามมันกานา ในรัชกาลของพระองค์ทรงถูกรุกรานโดยเปเชนเนกในบอลข่าน และการรุกรานจากราชวงศ์เซลจุคทางตะวันออก เกิดการกบฏของจอร์จ มาเนียเคสและเลโอ ทอร์นิคิออส และเกิดการแตกแยกทางศาสนาครั้งใหญ่ระหว่างคริสตจักรโรมกับคริสตจักรคอนสแตนติโนเปิล[18]

ใกล้เคียง

รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ รายพระนามเจ้านายพระชันษายืนในราชวงศ์จักรี รายพระนามจักรพรรดิและพระมหากษัตริย์จีน รายพระนามฟาโรห์ รายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทย รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์เกาหลี รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา